?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????

หลักการทำสัญญา

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????ท่านผู้อ่านที่เคารพ มนุษย์เราไม่สามารถที่จะอยู่คนเดียวในโลก จำเป็นต้องติดต่อกับผู้อื่นอยู่สมอ

การทำสัญญานั้น มีหลายประการด้วยกันคือ

หนึ่ง วัตถุประสงค์ของสัญญาว่า ต้องการทำอะไร ควรระบุให้ชัดเจน

สอง ชื่อที่อยู่ของคู่สัญญา เพื่อประโยชน์ในการติดตามบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญา

สาม ความสามารถของคู่สัญญา หากเป็นผู้เยาว์ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดา มารดาของผู้เยาว์ให้ความยินยอมก่อน เป็นต้น

สี่ ถูกต้องตามแบบหรือไม่ เช่นซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน กู้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เป็นต้น

ห้า ความยินยอมของคู่สมรส หากเป็นการทำสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ขายฝาก เช่าซื้อ จำนอง ก่อให้เกิดภารจำยอม สิทธิเก็บกิน หรือนำเงินสินสมรสไปให้กู้ ต้องให้คู่สมรสของคู่สัญญาให้ความยินยอมด้วย มิฉะนั้น คู่สมรสอาจฟ้องเพิกถอนสัญญาในภายหลังได้

หก ค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ เมื่อมีการผิดสัญญา ควรระบุให้ชัดเจน

เจ็ด ค่าธรรมเนียม ภาษี ฝ่ายใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ หรือให้รับผิดชอบร่วมกัน

แปด ลายมือชื่อคู่สัญญา หากพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือต้องมีพยานรับรอง 2 คน จึงจะบังคับได้

เก้า พยานที่รู้เห็นการทำสัญญา แม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องมีพยาน แต่ก็ควรมีพยานไว้ เพื่อเบิกความยืนยันการทำสัญญาเมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น

ข้อควรระวังในการทำสัญญามีดังนี้

หนึ่ง ควรมีหลักฐาน แม้กฎหมายจะให้ทำได้ด้วยวาจา ก็ควรทำเป็นหนังสือเนื่องจากชัดเจน แน่นอนโต้แย้งได้ยาก

สอง อย่าไว้วางใจ คืออย่าเชื่อใจว่าเขาจะไม่โกง เพราะหากเขาโกงเราจะแก้ไม่ทัน ท่านอย่าเซ็นชื่อในกระดาษเปล่าหรือแบบพิมพ์ที่มิได้กรอกข้อความ ทุกครั้งที่มีการชำระหนี้การขอใบเสร็จหรือหลักฐานการรับชำระหนี้ หรือขอหลักฐานแห่งหนี้คืนมา หรือขีดฆ่าทำลายหลักฐานแห่งหนี้เสีย

สาม อย่าเห็นแก่ได้ ประโยชน์ที่มากผิดปกติ ทรัพย์ที่ราคาต่ำผิดปกติ ผู้ที่ทำสัญญามาน่าจะมีทรัพย์เช่นนั้น หรือทำในเวลาผิดปกติ เช่น กลางคืน หรือในวันหยุด ท่านอาจมีความผิดฐานรับของโจร

สี่ ข้อความในสัญญาควรระบุให้ชัดเจน ไม่ใช้คำที่คลุมเครือหรือแปลได้หลายนัย

ห้า ควรมีคู่ฉบับ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตรงกัน ป้องกันมิให้ฝ่ายใดแก้ไขสัญญาเพียงฝ่ายเดียว

หก การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาภายหลัง อย่าตกลงด้วยวาจา ควรให้คู่สัญญาบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง มิฉะนั้น อีกฝ่ายอาจอ้างได้ว่าไม่มีการตกลงแก้ไข

——————————————————————-

โดย รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา

(บทความนี้คัดลอกจากหนังสือรวมบทความการไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาทและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดพิมพ์โดยสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *